อันตราย! ระวังเชื้อราปนเปื้อนในอาหารไก่

ช่วงนี้อากาศร้อนอบอ้าว ผู้เลี้ยงไก่ไข่หลายท่านอาจประสบปัญหาไก่ป่วยง่าย ป่วยบ่อย สาเหตุอาจเกิดจากสิ่งรอบตัว หรือ อาหารที่ให้ไก่กินอยู่ทุกวันๆ อาจมีเชื้อราปนเปื้อน! วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะว่า โรคเชื้อราเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีรักษาและป้องกันได้อย่างไร…

อันตราย! ระวังเชื้อราปนเปื้อนในอาหารไก่

“โดยทั่วไปแล้ว อาการของการติดเชื้อราในสัตว์ปีก คนส่วนใหญ่คิดว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรืออาการของโรคหวัด หรือ โรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งจริงๆ แล้ว โรคเหล่านี้ จะมีอาการใกล้เคียงกันมาก แต่ที่แตกต่างกันจนเห็นได้ชัดคือ ถ้าไก่ติดเชื้อรา จะมีอาการคอตีบ หายใจมีเสียงดัง คล้ายโรคหวัด หรือ โรคหลอดลมอักเสบ แต่วิธีสังเกตง่ายๆ ก็คือ โรคหลอดลมอักเสบ จะใช้ยาปฏิชีวนะทั่วไปรักษา และจะหายได้ภายใน 5-7 วัน แต่อาการของการติดเชื้อรา จะรักษาด้วย
ยาปฏิชีวนะ ไม่หาย! ใช้เวลารักษานาน เรื้อรัง เพราะรักษาไม่ถูกวิธี และไม่ถูกต้องนั่นเอง”

อาการไก่เมื่อติดเชื้อรา

1. ไก่ป่วยง่าย ป่วยบ่อย เนื่องจากสภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
2. ระบบย่อยอาหารไม่ดี ลำไส้มีปัญหา ลำไส้อักเสบ เสียหาย
3. อยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่เข้าฝูง
4. หายใจมีเสียงในคอ คอตีบ
5. อาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
6. ไม่กินอาหาร น้ำหนักลด ผอม
7. บางเคสจะถ่ายเป็นสีเขียวสด หรือ มีน้ำไหลออกจากท่อนำไข่
8. เป็นโรคโลหิตจาง หงอนซีด
9. ไข่ลด และไม่ออกไข่ สืบพันธุ์แล้วไข่ไม่มีเชื้อ
10.ระบบทางเดินหายใจถูกจำกัด ไก่มีอาการหอบบ่อย ไก่ระบายความร้อนได้ไม่ดี ตัวร้อนจัด และอาจจะทำให้เลือดออกในระบบ ภายในร่างกาย

11.ตายเนื่องจากติดเชื้อเป็นเวลานาน

สิ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรา ได้แก่

1. อาหารที่ผ่านการหมัก (อาหารแปรรูปสำหรับสัตว์ปีก เช่น ข้าวโพด)
2. สปอร์ในอากาศและพื้นผิวต่างๆ
3. สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง และมีความร้อนอบอ้าว

4. หญ้าแห้งบางชนิด แม้จะแห้งไปแล้วแต่อุดมไปด้วยเชื้อรา
5. ขาดการสุขาภิบาลที่ดี โรงเรือนไม่สะอาด
6. ติดเชื้อราโดยตรงจากไก่สู่ไก่
7. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เพราะไม่เคยกินวิตามินรวม

การป้องกันเพื่อไม่ให้มีเชื้อรา

1.ใช้หัวเชื้อ อีเอ็ม ผสมน้ำ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร พ่นบริเวณเล้าไก่ พื้น แกลบ คอนนอน ตัวไก่ และผสมหัวเชื้อ อีเอ็ม 1 ช้อนชาต่อน้ำ 4 ลิตร ให้กินทุกวัน ห้ามผสมหัวเชื้ออีเอ็ม กับยาปฏิชีวนะทุกชนิด
2. เก็บและทำความสะอาดภาชนะให้อาหารไก่อย่างสม่ำเสมอ
3. เก็บกวาดอาหารมูลฝอย เศษอาหารทิ้ง ทุกๆ วัน ไม่ให้ค้างคืน
4. เล้าไก่ต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
5. ตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารไก่ เมื่อตักแล้วต้องปิดให้มิดชิด ป้องกัน การเกิดเชื้อรา
6.ใช้ยาป้องกันเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นยาทาผิวหนัง ยากิน หรือยาพวก antifungals ในกรณีรุนแรง
7. ให้กระเทียมผง หรือ กระเทียมสด หรือคั้นน้ำกระเทียมนำไปให้ไก่กิน เพื่อรักษาอาการติดเชื้อรา ภายในร่างกายได้
8. ผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำให้ไก่อาทิตย์ละ 1 ครั้ง อัตราส่วน น้ำส้มสายชู 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 4 ลิตร เพื่อขับเชื้อราในระบบทางเดินอาหารไก่
9. เมื่อไก่ป่วย ให้ผสมกากน้ำตาลให้ไก่เพื่อช่วย ขับเชื้อราออกจากระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ไก่ กากน้ำตาลจะช่วยให้พลังงานกับไก่ป้องกัน ไก่อ่อนเพลีย และเป็นยาระบายอ่อนๆ อีกด้วย
10.นำไก่ไปให้สัตวแพทย์ตรวจวินิจฉัยเพื่อรับยารักษาที่ถูกต้อง

หมายเหตุ : ไก่ที่มีสุขภาพดีจะสามารถทนต่อเชื้อราได้ แต่สำหรับไก่ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น ไก่เล็ก หรือ ไก่ที่มีอายุมากแล้ว การติดเชื้อราจะทำให้ ไก่เบื่ออาหาร ไอ และ น้ำหนักตัวจะลดลง ผอม แต่อัตราการตายจะน้อย การให้ยาปฏิชีวนะไม่ทำให้ไก่ดีขึ้นแต่จะไปกดภูมิคุ้มกันไก่ทำให้ไก่ป่วยเรื้อรัง และรักษาไม่หาย เพราะฉะนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องหมั่นดูแล คอยสังเกตไก่ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ และดูแลเรื่องอาหารการกินให้ถูกสุขลักษณะ วัตถุดิบที่นำมาเลี้ยงไก่ เช่น ข้าวโพด กากถั่วเหลือง รำ เมล็ดธัญพืชต่างๆ หรือแม้แต่หญ้าแห้ง ต้องอยู่ในสภาพดี ไม่มีเชื้อราปนเปื้อนเด็ดขาดค่ะ

———————————
ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ได้ที่นี่ https://ฟาร์มไก่ไข่พัชรี.com
สนใจสอบถาม/สั่งซื้อไก่ไข่สาว ได้ที่นี่ค่ะ
www.facebook.com/ThaiEggs
ฟาร์มไก่ไข่พัชรี มุกดาหาร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *